Select Page

วันนี้ (27 กันยายน 2565) เวลา 10.30 น. ที่ โรงแรม บีพีสมิหลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ ศอ.บต. เชื่อมโยงการขับเคลื่อนแผนงานด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเสริมสร้างเครือข่ายนักยุทธศาสตร์ โดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 กันยายน 2565 โดยมี นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้บริหาร ศอ.บต. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้อำนวยการสำนัก / กอง และบุคลากร ศอ.บต. เข้าร่วมกว่า 300 คน

ในการนี้ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การที่เราทุกคน ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้นั้น เราจะต้องรู้จักความเข้าใจ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” มาปรับใช้กับการทำงานขององค์กรให้เกิดความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ ภายใต้แนวคิด ศอ.บต. เป็นหน่วยนำด้านการพัฒนาเป็นที่พึ่งพาของประชาชนซึ่งการที่ซึ่งการที่จะทำงานให้สำเร็จนั้นบุคลากรของศอ.บต. ทุกคนมีต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ ศอ.บต. มุ่งเน้นสร้างการรับรู้ให้เป็นที่ประจักษ์คำตอบอยู่ที่ประชาชนอยู่ดีมีสุขโดยมีเป้าหมายให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบสุขร่มเย็น และทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันภายใต้วิถีสังคมพหุวัฒนธรรม

สำหรับการขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2566 – 2568) ของ ศอ.บต. จะขับเคลื่อนงานภายใต้มิติงานด้านการพัฒนา 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาตามศักยภาพพื้นที่ และ 2. ด้านการพัฒนาเสริมความมั่นคง โดยด้านการพัฒนาตามศักยภาพพื้นที่ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งควบคู่กับการยกระดับเศรษฐกิจของพื้นที่ให้เติบโตเพื่อเป็นฐานรายได้ที่มั่นคง ลดปัญหาความยากจน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และด้านการพัฒนาเสริมความมั่งคง เพื่อขจัดเงื่อนไขต่างๆ ให้หมดไป และสร้างสภาวะแวดล้อมให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ร่วมกันในวิถีพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนตลอดไป นอกจากนี้แนวทางการดำเนินงาน รวมเป็น 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1. การเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็ง 2. การอำนวยความเป็นธรรมทางสังคม 3. การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ และ 4. การสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการหนุนเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 254 total views,  1 views today