Select Page

“การทำงานอย่างหนัก” ของ ‘ผู้นำ’ ในพื้นที่​ จชต.​ ส่งผลให้สถานการณ์​โรคระบาด​ COVID-19​ ‘คงที่’​ แม้จะมีคนไทยจากมาเลเซียเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง​ จำกัดตามมาตรการการเฝ้าระวัง

โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นหน้าด่านรับ ‘คนไทยจากมาเลเซีย’ กลับประเทศ วันละ​ 100 คน​ ตามเส้นทางปกติ ‘ด่านพรมแดนถาวร’​ แต่กระนั้น​ ก็ยังมี​บุคคล​ ‘ลักลอบ’​ เข้าประเทศ​ ทางด่านธรรมชาติ​ ซึ่ง​มีด่านพรมแดน และช่องทางข้ามธรรมชาติ รวมจุดผ่อนปรน มากกว่า 13 ทาง​  มาตรการ​ “เฝ้า” และ​ “ระวัง” จึงเกิดขึ้น​ โดยให้เจ้าหน้าที่ทหาร​ จาก​ ‘กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค​ 4 ส่วนหน้า’​ ลาดตระเวนตลอดแนวเขตแม่น้ำสุไหงโกลก 24 ชม. เพื่อลด ‘ความเสี่ยง’ ​ผู้ลักลอบ​ ‘เข้ามาในลักษณะผิดกฎหมาย’​ และ​ “นำโรคมาติดคนในพื้นที่”

เลขาธิการ ศอ.บต. “พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร” ลงพื้นที่ด่านทุกจังหวัด เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และร่วมวางมาตรการเฝ้าระวัง ลดความเสี่ยงเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ จาก แรงงานไทยเดินทางกลับภูมิลำเนา พร้อมให้กำลังใจผู้ว่าจังหวัดนราธิวาส ที่ทำงานอย่างหนัก ในห้วง 2 เดือนที่ผ่านมา และรับมือกับสถานการณ์คนไทยจากประเทศมาเลเซีย ทั้งด่านถาวร และ ด่านธรรมชาติ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ขณะนี้ นราธิวาส มีจำนวนผู้ป่วยสะสม เพียง 38 ราย ทั้งที่มีคนไทยจากมาเลเซียเข้าประเทศ ตั้งแต่เปิดด่าน เมื่อวันที่ 18 เมษายน จำนวนกว่า 10,000 คน

“พื้นที่อื่นแค่ส่ง ‘แรงงานต่างชาติ’ กลับประเทศ” เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 แต่ จชต. ต้องรับแรงงานไทยกลับเข้ามา จึงต้องมีความ “พิเศษ” ในการ ‘เฝ้าระวัง’  มากกว่าพื้นที่อื่น เลขาธิการ ศอ.บต. จึงลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้กำลังใจผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายเอกรัฐ หลีเส็น และเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในพื้นที่ พร้อมมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับบริจาค จาก ‘ภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกพื้นที่’ มอบให้

นอกจากนี้ยังมีการหารือแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้มีผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้น โดย เผยว่า ศอ.บต. พร้อมเป็นหน่วยงานเติมเต็ม ให้ความช่วยเหลือทุกด้าน พร้อมเป็นกำลังใจให้ทุกสู้ภัยไปด้วยกัน โดยหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อหาช่องทางอาชีพแก่คนไทยจากมาเลเซียที่ไม่ต้องการกลับไปทำงานในประเทศมาเลเซียแล้ว  ขณะนี้ได้สั่งการให้บัณฑิตอาสาฯทุกพื้นที่ เข้าพูดคุย สอบถามและหารือ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เพื่อนำข้อมูลในทุกพื้นที่เข้าที่ประชุมร่วมกันทั้ง 5 จังหวัด เพราะเมื่อสถานการณ์ COVID-19 ดีขึ้น ผลกระทบใหญ่ที่ต้องช่วยแก้ คือ ปัญหาปากท้องของ ประชาชน

 บทความ SBPAC NEWS

 201 total views,  1 views today