Select Page

วันนี้(12 กุมภาพันธ์ 2563) ที่ห้องประชุมน้อมเกล้า อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นายอิสระ ละอองสกุล  ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการประชุมพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการรับรู้ความเข้าใจการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการฯ ภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมี นายดำรง อินโท ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม กองส่งเสริมและสนับสนุนฝ่ายพลเรือน ศอ.บต. ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้สอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ตาดีกา)ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายอิสระ  ละอองสกุล  ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  กล่าวว่า  จากสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นมีลักษณะปัญหาที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อนและเชื่อมโยงกันหลายๆมิติ เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ส่งผลต่อมิติด้านความมั่นคงมิติการพัฒนาและอีกหลายๆปัญหา หน่วยงานภาครัฐได้เร่งแก้ไขปัญหาในทุกๆมิติ และเร่งพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการสร้างการยอมรับในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และแผนปฎิบัติการเสริมสร้างการพัฒนาในพื้นที่ จชต. เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ให้กับเด็กตั้งแต่และเยาว์วัย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตลอดจนเฝ้าระวังและขจัดสื่อร้าย (สื่อที่ไม่พึ่งประสงค์)แต่กระจายสื่อดี (สื่อที่พึ่งประสงค์)ให้แก่เด็กเล็กโดยเน้นด้านทักษะการใช้ภาษาตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไปในชีวิตประจำวันได้แก่ภาษาพื้นถิ่น (ภาษามลายู) และภาษาไทยเป็นสื่อกลางที่จะเชื่ยมโยงให้เด็ก ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันในวิถีชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดการยอมรับเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตาดีกา) ตั้งอยู่ตลอดจนพร้อมที่จะขยายพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมกันออกไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงด้วยระบบการเรียนรู้วิถีวัฒนาธรรมของชุมชน ให้เกิดความรักความสามัคคีจนเกิดความยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ในกิจกรรมดังกล่าวเป็นการพิจารณาเลือกกลุ่มเป้าหมายภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรม โดยได้กำหนดภายใต้กิจกรรม 5 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วยกิจกรรม 1.กิจกรรมพิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างการรับรู้ความเข้าใจการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการฯ2.กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ตาดีกา)ในพื้นที่ จชต.ที่จะดำเนินการในหวงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563  3.กิจกรรมการขยายผลการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ตาดีกา)และครอบครัว จำนวน 60 แห่ง ภายใต้กิจกรรม 3 ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิคุ้มกันดี  4.กิจกรรมการเยี่ยมเยียน/ติดตามการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ตาดีกา) 3 จังหวัดและ4 อำเภอจังหวัดสงขลา และ5.กิจกรรมประชุมเชิงปฎิบัติการสรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ตาดีกา)ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างการเรียนรู้การรับรู้ที่มีคุณภาพต่อไป

 344 total views,  1 views today