Select Page

วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2562) เยาวชนโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาโดยสวัสดิ์ภาพ ด้วยเครื่องบิน C-130 ที่มุ่งหน้าลงสู่กองบิน 56 จังหวัดสงขลา และสนามบินนราธิวาส โดยมี นายขอหลิด แซะอาหลี ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวิชาการและกิจการพิเศษ กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และกิจการพิเศษ ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนครอบครัวของเยาวชนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

นายเอกลักษณ์  สุขเกษม  หนึ่งในเยาวชนจาก อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ที่เข้าร่วมโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ เปิดเผยว่า ผมรู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง และได้เข้าร่วมโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ในครั้งนี้ ซึ่งในการคัดเลือกนั้นมีเยาวชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และโครงการนี้ก็รับแค่จำนวนจำกัด แต่ผมก็สามารถติด 1 ในนั้นได้ ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมนั้นผมได้ทำและได้รับสิ่งที่มีประโยชน์มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือมิตรภาพจากเพื่อนต่างโรงเรียนต่างศาสนา ต่างพื้นที่ทำให้เกิดความผูกพันที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ผมต้องขอบคุณโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ ซึ่งโครงการนี้ผมถือว่าเป็นโครงการที่มีเกียรติมากๆ  ได้มอบโอกาสดีๆให้กับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกรุง ได้เรียนรู้วัฒนธรรมนอกพื้นที่ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีในการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ ที่คอยอบรมสั่งสอน ให้ความรู้ที่ดีเสมอมา ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ แต่มันคือความประทับใจที่ไม่มี    วันลืม

สำหรับในการเดินทางกลับของเยาชนในแต่ละพื้นที่นั้นจะมีเจ้าหน้าที่ ในแต่ละอำเภอ​ตามภูมิลำเนาของเยาวชน​มารับต่อจากจุดนัดหมายของแต่ละจังหวัด​ คือ​ จังหวัดนราธิวาส​รับที่สนามบิน​นราธิวาส​ จังหวัดยะลา​รับที่สนามโรงพิธี​ช้างเผือก และจังหวัดปัตตานี​รับที่ลานวัฒนธรรม​ ณ​ สนาม​ ร.​5 เพื่อ​เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย

ทั้งนี้กิจกรรมของโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 36 ได้นำเยาวชนจำนวน 320 คน จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ ไปใช้ชีวิตร่วมกัน โดยมีการพำนักอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 1 พฤศจิกายน 2562 เพื่อต้องการให้เยาวชนได้รับความรู้ และประสบการณ์จากการเรียนรู้จากการทัศน์ศึกษา ในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนได้มีโอกาสเข้ารับฟังโอวาทจากผู้นำระดับสูงของประเทศ ผู้นำศาสนา และได้เข้าค่ายฝึกอบรมจากส่วนราชการต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ดำเนินการมาแล้ว 36 รุ่น มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8,000 คน ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์และเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม อีกทั้งเยาวชนได้มีโอกาสอาศัยร่วมกับครัวครัวอุปถัมภ์ ที่เป็นครอบครัวที่สองของเยาวชนทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่พำพักอยู่ในกรุงเทพมหานคร คอยอบรม สั่งสอน เลี้ยงดูและถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความเข้าใจและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต่อไป

 169 total views,  1 views today