Select Page

        วันนี้ (28 เมษายน 2562) ที่ห้องประชุมน้อมเกล้า อาคารอเนกประสงค์ ศอ.บต. นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรมสำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Deep South Innovation Business Coaching Program) พร้อมด้วย พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยมี ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นายวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อานวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นางสาวดาริน สุขเกษม ผู้อานวยการศูนย์ประสานงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคและภาคใต้ นายธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐ ศอ.บต. ผู้ประกอบการและกลุ่มนักธุรกิจที่เข้าร่วมอบรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของเข้าร่วมกิจกรรม

        นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ  กล่าวว่า ในนามของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจน “นวัตกรรม” ซึ่งกิจกรรมฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรมสำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่นั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ได้จัดขึ้น เป็นการสร้างได้เรียนรู้วิธีการคิดอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมด้วยการใช้หลักการของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งทุกท่านจะกลายเป็นกลุ่มผู้นำนวัตกรรมผลักดันธุรกิจของตน ตลอดจนร่วมเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ไปยังผู้ประกอบการท่านอื่นๆ ในพื้นที่ให้เกิดการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศน์นวัตกรรมในระดับภูมิภาค

        ด้าน พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ต้องการพัฒนาเยาวชน จชต.ให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการเป็นนักธุรกิจพัฒนาในทุกมิติทุกด้าน โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับมูลค่าผลผลิต และสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรม ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ศอ.บต. ในฐานะหน่วยบูรณาการในพื้นที่ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ให้มีศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหา จชต. รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจในพื้นที่

        นายเอกชัย  โจจนาภิวัฒน์ กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่จังหวัดชายแดนใต้ (yes) หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมกล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่เข้าร่วมกิจกรรมเติมไปด้วยข้อมูล เนื้อหาสาระที่สำคัญๆ สามารถทำให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจนำไอเดียร์ที่มีมาพัฒนาให้ตกผลึกมากขึ้น ก่อให้เกิดผลผลิตได้จริง  ธุรกิจได้จริง รวมถึงนำความรู้มาประยุกต์ปรับไช้ ทั้งด้านโครงสร้างทีมงาน การตลาด การก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาธุรกิจของตนเองและการพัฒนาธุรกิจ จชต.

        อย่างไรก็ตาม  กิจกรรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกจากการนำเสนอผลงานกว่า 200 ราย คัดเลือกเหลือ 30 ราย และได้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 28 เมษายน 2562 เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจที่ยังขาดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และในวันนี้จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมอบรมเหล่านี้มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมทั้งในธุรกิจ SMEs และธุรกิจ Startup ในพื้นที่เพื่อการผลักดันระบบเศรษฐกิจให้มีการเติมโตอย่างต่อเนื่อง

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และนักธุรกิจรุ่นใหม่ในพื้นที่ เพื่อเร่งรัดให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม และพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยวิจัยต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Model) และได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ “การส่งเสริม Startup/SMEs ในพื้นที่ จชต.” ให้ผู้ประกอบการและกลุ่มนักธุรกิจจังหวัดชายแดนใต้ เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน

 162 total views,  1 views today