เมื่อวานนี้ 9 กันยายน 2567 นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่กระบวนการมาตรฐาน ฮาลาล” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจฮาลาล โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน Halal เพิ่มขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และยังได้เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิตอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล อย่างถูกต้อง และเพิ่มโอกาสทางการตลาดในกลุ่มประเทศที่ต้องการสินค้าที่มีการรับรอง Halal เช่น ในตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลในภูมิภาค ( ASEAN Halal Hub) ภายในปี 2571 เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลของไทย โดยมีกรอบแนวทางที่สำคัญ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลและให้ยังคงมีอัตลักษณ์ความเป็นไทย เชื่อมโยงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอีกด้วย ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ควบคู่กับการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพ กระจายรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็ง และความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งภายในกิจกรรมมีผู้ประกอบการจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น จังหวัดปัตตานี จำนวน 44 ราย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 36 ราย จังหวัดยะลา จำนวน 11 ราย จังหวัดสตูล จำนวน 6 ราย จังหวัดสงขลา จำนวน 3 รายเข้าร่วม ณ โรงแรม ซี.เอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ในการนี้ นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ธุรกิจฮาลาลยังทำให้ผู้ประกอบการมีตลาดที่กว้างขึ้น โดยผู้ที่เข้าอบรมในกิจกรรมนี้ จะได้รับองค์ความรู้บูรณาการหลักการฮาลาลที่ถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของศาสนาอิสลาม และวิถีชีวิตของมุสลิม ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องนำไปใช้ในแหล่งอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านฮาลาลเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าเป็นอย่างดี ทั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมตะวันออกกลาง อีกด้วย
สำหรับการจัดกิจกรรมฯ ในครั้งนี้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2567 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความสำคัญในการผลิตสินค้าฮาลาลและอื่นๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง อาทิ การสร้างแรงบันดาลใจ หรือแนวทางการยกระดับสินค้าชุมชนสู่สากล, การขอมาตรฐานฮาลาล, ขั้นตอนว่าด้วยการขอมาตรฐาน อย. , การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า , การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าและการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพื้นถิ่น, การตลาดออนไลน์, การขอใช้สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในประเทศไทย
101 total views, 1 views today