Select Page

หนังสือ/วารสาร

ชุดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ศอ.บต.

เพื่อนพึ่งพา

ปีที่ 4 ฉบับที่ 21 กรกฏาคม- สิงหาคม 2566

เพื่อนพึ่งพา

ปีที่ 4 ฉบับที่ 20 พฤษภาคม – มิถุนายน 2566

เพื่อนพึ่งพา

ปีที่ 4 ฉบับที่ 19 มกราคม – เมษายน 2566

เพื่อนพึ่งพา

ปีที่ 3 ฉบับที่ 17 กันยายน-ธันวาคม 2565

วารสารการพัฒนาชายแดนใต้ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2

ปีที่ 5 ฉบับที่ 2

ปีที่ 5 ฉ.2 ประจำปี 2566
 

วารสารการพัฒนาชายแดนใต้ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1

ปีที่ 5 ฉ.1 ประจำปี 2566

วารสารการพัฒนาชายแดนใต้ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1

ปีที่ 5 ฉ.1 ประจำปี 2566

วรสารการพัฒนาชายแดนใต้

ปีที่3 ฉบับที่ 1 มกราคม  – มิถุนายน 2564

วรสารการพัฒนาชายแดนใต้

ปีที่3 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม  – ธันวาคม 2564

เทคนิคการสอนงาน

ปี พ.ศ. ที่ออกเอกสาร: 2560

การเขียนหนังสือราชการ

ปี พ.ศ. ที่ออกเอกสาร: 2560

การดำเนินการทางวินัย

ปี พ.ศ. ที่ออกเอกสาร: 2560

 8,045 total views,  5 views today

Smart farm สร้างชุมชน สร้างรายได้ พื้นที่ปลายด้ามขวาน

“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นแนวคิดในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ และยังพระราชดำรัส “การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง” คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนได้จัดรูปแบบการปลูกให้เกิดคุณค่า บูรณาการในพื้นที่ทำกินให้มีสภาพใกล้เคียงป่า และสร่างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูกให้เป็นทรัพย์ เพื่อออมและใช้แก้ปัญหาความยากจน

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จึงนำแนวคิดดังกล่าวเป็นทางหลักการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการเกษตรก้าวหน้าริมทางหลาวง หรือ Smart Farm เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมด้วยกลไกประชารัฐ ร่วมใจ สร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเป้าหมายมุ่งสร้างไมตรีจิตที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่ เป็นการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรของประชาชน

นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศอ.บต.ระบุว่า โครงการ “Smart Farm” เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยนำที่ดินของชาวบ้านในพื้นที่ที่เคยเป็นแปลงเกษตร มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่ดินรกร้าง ไม่มีการใช้ประโยชน์เป็นระยะเวลานานให้สามารถพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ด้วยการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ ทั้งในลักษณะการเพาะปลูกเดิม และให้เพิ่มเติมพืชผลอื่นๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่วมฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์พื้นที่รกร้าง ไร้ประโยชน์ สมารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อีกครั้ง

เลขาธิการ ศอ.บต. เล่าต่อว่า นอกจากการพลิกฟื้นที่ดินและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนแล้ว โครงการดังกล่าวจะเป็นการรื้อฟื้นความสำคัญและบรรยากาศในอดีตว่า ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ร่วมกันโดยการแบ่งปันของกินของใช้ และทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ มุสลิม หรือศาสนิกชนอื่นๆ ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ในส่วนของประชาชนในพื้นที่ให้การตอบรับดี และดีใจที่ศอ.บต.ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยนายอาหลี สาแม ประธานกลุ่ม smart farmบอกว่า หลังหว่านเมล็ดถั่วเขียวบนเนื้อที่ของชาวบ้านกว่า 700 ไร่ ที่ตำบลลูโบะปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในวันที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา พร้อมกับรองเลขาธิการศอ.บต. นายจำนัล เหมือนดำ

นายอาหลี สาแม ประธานกลุ่ม smart farmเล่าอีกว่า ชาวบ้านแบ่งกลุ่มช่วยกันดูแล ซึ่งกรรมการกลุ่ม smart farm ก็เข้าไปสอดส่งดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าที่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมล็ดถั่วเขียวจะสามารถเก็บไปขายได้ในระยะเวลา 75 วัน นับจากวันที่หว่านเมล็ด ซึ่งจะได้ผลผลิตทั้งหมด 3 แสนกิโลกรัม และจะนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้แก่ชาวบ้าน อย่างไรก็ดีคณะกรรมการจะหักรายได้จากชาวบ้าน 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปซื้อเมล็ดถั่วเขียวหว่านในครั้งต่อไป

สำหรับประโยชน์ของเมล็ดถั่วเขียว สามารถนำไปประกอบอาหารคาวหวานได้ อาทิ ใส่ในก๋วยเตี๋ยว ข้าวราดแกง หรือไอศกรีม ไส้ขนมหวานต่างๆ อีกทั้งมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ และถั่วที่มีไขมันน้อยที่สุด เพราะจากข้อมูลของสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชี้แจงเอาไว้ว่า ปริมาณไขมันที่พบได้ในถั่วเขียวมีเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ผิดกับถั่วลิสงที่มีไขมันถึง 44 เปอร์เซ็นต์ ส่วนถั่วเหลืองก็มีไขมันไม่แพ้กันอยู่ที่ประมาณ 16-17 เปอร์เซ็นต์ การรับประทานถั่วเขียวจึงไม่ค่อยมีผลกระทบต่อผู้มีระดับของไขมันในเลือดสูง

อย่างไรก็ดี ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอาชีพทำนาและกรีดยางพาราเป็นอาชีพหลัก ซึ่งการที่ศอ.บต.ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชไร่เพื่อนำไปปรุงอาหารคาวหวานและขาย จะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นการรื้อฟื้นความสำคัญของบรรยากาศในอดีตว่าประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่อย่างสงบสุข พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอีกด้วย

 693 total views,  1 views today

การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management: KM)

การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management” คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู ่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็ นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภา พ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร.)
KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )

ความหมายและรูปแบบของความรู้
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฏระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม

2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่า ง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม

ในชีวิตจริง ความรู้ 2 ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit

การกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการจัดการความรู้
ก่อนที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้าง ๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริห ารราชการแผ่นดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย

“โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ

1. ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
2. ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
3. “ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้

KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา
แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม

 1,366 total views

Infographic

  • กรณี แนวการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการจ่ายเงินสวัสดิการ
  • กรณี แนวปฏิบัติราชการเกี่ยวกับสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
  • กรณี กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการโดยจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ
  • กรณี ข้าราชการกระทำการ โดยประมาทในการปฏิบัติราชการจนเป็นเหตุ
  • กรณี หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่
  • 4 ข้อที่พึงปฏิบัติ การเป็นข้าราชการที่ดี
  • กรณี เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดดิการของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • กรณี การใช้ดุลพินิจของหน่วยงานของรัฐในการกำหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาฯ
  • กรณี การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ
  • กรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างไม่ร้ายแรงฯ
  • กรณี คำสั่งแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และค่าสินไหมฯ
  • การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
  • e-Poster ธงชาติไทย1
  • e-Poster ธงชาติไทย2
  • e-Poster ธงชาติไทย3
  • พรบ.การบริหารราชการ จชต. 2553
  • 9 ยุทธศาสตร์ คสช. 12 ค่านิยมหลักของคนไทย
  • การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  • ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานตาม Roadmap ของผู้แทนพิเศษของรัฐบาล
  • กองการต่างประเทศ ศอ.บต.
  • สำนักสนับสนุนการผลิตและธุรกิจฮาลาล
  • งดเว้นใช้สำเนาบัตรประชาชน
  • สิทธิของประชาชน

 6,447 total views,  2 views today

E-Learning

สถาบันพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือน

 

กฏหมายที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ภาษามลายูถิ่นเบื้องต้น

พหุวัฒนธรรมและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้

แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สิทธิประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 43,375 total views,  7 views today